Mobile Device Diversity and Management
พวก
Mobile Device กลายเป็นเรื่องธรรมของทุกคน
ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้ทั้ง Smart Phone และ Tablet และการนำอุปกรณ์ต่างๆ
เหล่านี้มาใช้ในที่ทำงานก็เป็นเรื่องธรรมดาหรือที่เรียกว่า BYOD (Bring Your Own Device) เป็นการยากที่องค์จะบังคับไม่ให้พนักงานนำอุปกรณ์ต่างๆ
เหล่านี้เข้ามาใช้ หากมองในอีกแง่มุมหนึ่งก็เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน
เรียกได้ว่าสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา แต่หากมองในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือเรื่องข้อมูลความลับขององค์กร
มีโอกาสที่จะถูกเปิดเผยได้ง่ายขึ้น หรือไม่ก็เรื่องของ IT Security ในองค์กรที่มีโอกาสถูกโจมตีได้ง่ายขึ้นเพราะช่องทางการถูกโจมตีได้ถูกเปิดกว้างขึ้นโดย
อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้
ดังนั้นเพื่อให้องค์ได้ประโยชน์จาก
BYOD ได้เต็มที่
องค์กรเองจึงต้องหาวิธีบริหารจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นของพนักงานเหล่านี้ เพราะคงไม่สามารถใช้วิธีการเดิมๆ
อย่างกับอุปกรณ์ของบริษัทได้
Mobile Apps and Applications
ด้วยประสิทธิภาพของเครื่องมือในการพัฒนา Application เช่น
JavaScript หรือ HTML5 จะทำให้ Application
เปลี่ยนรูปโฉมไปในเชิงของการใช้งาน User Interface การใช้เสียงที่มากขึ้น การใช้ VDO ที่มากขึ้นในรูปแบบที่แปลกออกไป
Application ทั่วๆ ไปจะเล็กลงเรื่อยๆ แต่ Application
สำหรับองค์กรจะเริ่มสลับสับซ้อนมากขึ้น การกระจาย Application
ออกไปในหลายๆ Platform (Mobile, Tablet, PC) ก็เป็นเรื่องสำคัญ
เพื่อเพิ่มการเข้าถึง Application ให้มากขึ้น
The Internet of Everything
ส่วนนี้จะก้าวข้ามเรื่องของ PC และ Mobile
Device ไปอีกขั้นหนึ่ง เรียกได้ว่าทุกๆ
อุปกรณ์ที่อยู่รอบตัวเราล้วนแล้วแต่ต่อเชื่อมกับ Internet ทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกา รถยนต์ ทีวี ตู้เย็น ไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เป็นต้น พวก ทีวีเราคงพอได้เห็นแล้วบ้าง
เพราะมี Internet TV ออกมาขายได้สักพักแล้ว รถยนต์
ก็เพิ่งเริ่มมีไม่กี่ยี่ห้อที่เริ่มผลิตรถบางรุ่นออกมา ปัญหาคือองค์กรต่างๆ หรือ Vendor
ต่างๆ ยังไม่ค่อยได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ ว่า เราจะสามารถเข้าไปบริหารจัดการ
หรือใช้ประโยชน์อะไรจากส่วนนี้ได้บ้าง อย่าลืมว่า หากทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราเชื่อมกับ
Internet ได้หมด
ปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาลที่อุปกรณ์แต่ละตัวสร้างขึ้นและส่งออกมานั้นจะมีมากเท่าไร สิ่งที่องค์กรควรมองคือ 4 เรื่องหลัก คือ Manage; Monetize; Operate; Extend สิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็น
Model ธุรกิจใหม่ก็ได้ ในอีกมุมมองหนึ่งของ Internets สิ่งที่เกี่ยวข้องกับ
Internet ก็มี 4 ด้านเหมือนกัน คือ people, things, information and places การจับสิ่งต่างๆ
เหล่านี้มาผสมผสานกันให้ลงตัวก็สามารถสร้างธุรกิจใหม่ได้ไม่ยาก
Hybrid Cloud and IT as Service Broker
Cloud Computing น่าจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาของแต่ละองค์กร
ใครๆ ก็สามารถพัฒนาระบบ Cloud ขึ้นมาเป็นของตัวเองได้ เป็น Private
Cloud ของตัวเอง แต่พอทำไปสักพักหนึ่ง
องค์กรเองก็จะเริ่มมีข้อจำกัดเกิดขึ้น อาจจะเป็นเรื่องเงินลงทุน เรื่องสถานที่ เรื่องความพร้อมของบุคลากร
หรือเรื่องอื่นๆ เมื่อองค์กรต้องการที่ขยาย Service ใหม่
หรือย้าย Service เดิมออกไป Outsource หรือไปฝากที่ผู้ให้บริการ
(Cloud Provider) องค์กรเองจำต้องออกแบบ Private
Cloud ของตัวเองให้สามารถที่จะปรับเป็น Hybrid Cloud ในอนาคตได้ ซึ่งจะต้องพร้อมที่จะเชื่อมต่อและสามารถทำ Interoperability
กับระบบอื่นๆได้
Cloud/Client Architecture
สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์กำลังจะเปลี่ยนไป จากยุคเมนเฟรม ที่การประมวลผลอยู่ที่เครื่องศูนย์กลาง
มาสู่ Client-Server ที่ตัว
Client มีประสิทธิภาพมากขึ้น การประมวลผลบางอย่าง อยู่ที่ Client
บางอย่างอยู่ที่ Server มาถึงยุค Internet
ที่การประมวลผลกลับไปอยู่ที่ Server ใน Internet
อีกครั้งหนึ่ง ต่อมาจนจะกลายเป็น Cloud/Client ที่ Mobile Device เป็นที่แพร่หลาย
ระบบสถาปัตยกรรมก็เริ่มเปลี่ยนไป การทำงานฝั่ง Client คืออุปกรณ์ต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็น Smart Phone, Tablet, PC หรือ Notebook จะเป็น Rich Application ที่มีการทำงานและการประมวลผลในตัว
ทางฝั่ง Server ที่อยู่บน Cloud ก็มีการประมวลผลอีกส่วนหนึ่งอาจเป็นการเชื่อมข้อมูลของแต่ละ
User เข้าด้วยกัน เน้นการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากหรือความยากในการประมวลผลสูงๆ
เพราะตัว Cloud สามารถขยายได้อย่างไม่จำกัด
และแน่นอนว่าข้อมูลที่จำเป็นต้องจัดเก็บก็จะมีปริมาณสูงมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่ง Cloud
ก็รองรับเรื่องนี้อยู่แล้ว
The Era of Personal Cloud
ยุคสมัยของการพึงพิง Device เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งกำลังจะหมดไป มันจะเปลี่ยนจาก
Device ไปสู่ Service สมัยก่อนเวลาเราอุปกรณ์ต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็น PC, Notebook หรือ Mobile Device (Smartphone/Tablet)
ข้อมูลต่างๆ ที่เราใช้งานหรือที่เราเก็บก็จะอยู่บนตัว Device
ตัวนั้นๆ ปัญหาเดิมๆ ที่เราเคยเจอคือ เมื่ออุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งหายไป
ข้อมูลของเราที่ติดอยู่กับอุปกรณ์ตัวนั้นๆ ก็หายไปด้วย เช่นมือถือหาย
เบอร์โทรต่างๆ ที่เคยเก็บไว้ก็หายไปกับโทรศัพท์นั้นด้วย แต่ในยุคของ Personal
Cloud ข้อมูลของเราจะถูกเก็บบน Cloud ไม่ว่าเราจะใช้อุปกรณ์ไหนๆ
เราก็สามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้ตลอดเวลา
ถึงอุปกรณ์หนึ่งหายไปก็ยังใช้อุปกรณ์ตัวอื่น
หรือซื้ออุปกรณ์ใหม่มาทดแทนได้โดยที่ข้อมูลไม่ได้หายไปด้วย อย่างเช่น ผู้ใช้ iPhone
สามารถใช้บริการ iCloud ที่เอาไว้เก็บข้อมูล Contact
List, Email, Calendar หรือ Application ต่างๆ
ของเราไว้บน Cloud เราสามารถเรียกข้อมูลมาใช้เมื่อไรก็ได้
เมื่อเปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์ ก็สามารถ Sync ข้อมูลต่างๆ
เหล่านั้นกลับมาที่เครื่องใหม่ได้เลย
Software Defined Anything
ในโลกของ Cloud ทุกอย่างในมุมมองของผู้ใช้ล้วนแล้วเป็นเรื่องของเสมือน
(Virtual) ทั้งนั้น ทุกอย่างคือ Service ที่เราสามารถเรียกใช้ได้ตามที่เราต้องการ ก่อนหน้านี้ เราอาจจะเห็น Service
ในรูปของ Platform, Software หรือ
Infrastructure เป็นต้น Software Define Anything ต่อยอดจาก”Software Defined Networking” และ ”Software Defined Data Center” เป็นการที่เราสามารถกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างได้ด้วย Software อธิบายง่ายๆ คือ จากเดิมที่เวลาเราสร้างระบบๆ หนึ่งขึ้นมา เราก็ต้องหา Server
มา สร้างระบบ Network ขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต
สร้างระบบ Security เพื่อป้องกันระบบของเรา และพัฒนา Application
ขึ้นมาให้บริการตามที่เราต้องการ แต่ด้วย Software Define
Anything ทุกสิ่งทุกอย่างที่กล่าวมาแล้วจะถูกทำโดย Software และเป็นแบบ Virtual ทั้งหมด เราสามารถสร้าง Virtual
Server ขึ้นมาด้วย Spec ที่เราต้องการ
สร้างระบบ Virtual Network ตามที่เราอยากได้
อยากให้ Server อยู่ตรงไหน Firewall อยู่ตรงไหน
สามารถกำหนดได้หมด ผ่านทาง Software ของผู้ให้บริการ
Web-Scale IT
การให้บริการไอทีกำลังเปลี่ยนไปเพราะมีผู้ใช้จำนวนมหาศาล
ระบบอย่าง Facebook, Amazon และ Google
ทำให้ Enterprise Data Center ต่างๆต้องออกแบบระบบที่จะรองรับผู้ใช้จำนวนมากที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้
ซึ่งจะเป็นเรื่องยากที่องค์กรส่วนใหญ่จะทำระบบแบบนั้นได้ การจะสร้างระบบ Data Center
ให้สามารถให้บริการได้ระดับเดียวกับ Provider อย่าง
IDC (Internet Data Center) เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
จริงๆ สามารถทำได้แต่อาจจะไม่คุ้มกับเงินทุนที่ลงไป บริการที่ว่าก็คือเรื่องของ
ระบบ Infrastructure เอง เรื่องของ Computing Performance
หรือเรื่องของ Security หรือเรื่องของการขยายระบบ
(Extension) และรวมไปถึงเรื่อง Redundant ด้วย ดังนั้นในอนาคตเราอาจจะเห็นองค์กรต่างๆมาใช้ระบบ
Cloud มากขึ้น เพื่อการลงทุนที่คุ้มค่ากว่า
Smart Machines
Smart Machines คืออุปกรณ์ต่างๆ
ที่สามารถทำงานต่างๆ เองได้ โดยไม่ต้องมีมนุษย์ควบคุม การ์ดเนอร์คาดว่าภายใน 2020 น่าจะเริ่มมีใช้กันแล้ว
และ Smart Machine จะเข้ามาเปลี่ยนวงการ IT อย่างแน่นอน เส้นแบ่งระหว่างว่า อะไรที่คนทำได้ กับ
อะไรที่เครื่องทำได้จะหายไป ในปีนี้น่าจะเริ่มมีคนลงทุนในเรื่อง Smart
Machine
3-D Printing
การพิมพ์งานแบบ
3 มิติเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น
อุปกรณ์เครื่องพิมพ์ 3 มิติก็เริ่มมีมากขึ้นเช่นกัน ราคาก็เริ่มถูกลงเรื่อยๆ
พอที่คนธรรมดาจะเริ่มเป็นเจ้าของได้ แต่ก่อนเราอาจจะเห็นแต่ในภาพยนตร์ ซึ่งการพิมพ์งาน
3 มิติจะเป็นการพิมพ์โดยใช้พลาสติกเส้นแล้วใช้ความร้อนละลายพลาสติกพิมพ์ออกมาเป็น Model
ตามที่เราต้องการ