ผมไม่แน่ใจว่าท่านผู้อ่านเคยได้ยินคำว่า
AKARI มาก่อนหรือเปล่า AKARI เป็นคำภาษาญี่ปุ่นซึ่งมีความหมายว่า
“แสงไฟดวงเล็กๆ” ซึ่ง AKARI เป็นชื่อโครงการหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นที่ต้องการจะสร้างระบบเครือข่ายแห่งอนาคตขึ้นมา
และใช้ Codename ว่า AKARI ซึ่งเปรียบเสมือน
“แสงไฟดวงเล็กๆ ในความมืดที่ชี้ทางไปสู่อนาคต”
ระบบเครือข่ายแห่งอนาคตหรือที่ในโครงการนี้เรียกว่า New Generation Network
มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2006
ที่มีแนวคิดว่าระบบเครือข่ายในปัจจุบันที่มีอยู่คงไม่อาจตอบสนองความต้องการใช้งานที่เปลี่ยนไปได้ในอนาคตข้างหน้า
เป้าหมายคือในปี 2015 ญี่ปุ่นจะมี New Generation Network (NWGN) ที่สามารถตอบสนองความต้องการในอนาคตได้
ทำไมต้องมี
NWGN
เป้าหมายสำคัญที่ทางญี่ปุ่นเห็นว่าระบบเน็ตเวิร์คในปัจจุบันยังไม่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพวกเขาได้ก็คือ
การตอบสนองต่อเรื่องภัยภิบัติ
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าประเทศญี่ปุ่นนั้นมีภัยภิบัติอยู่เป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็น
แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ภายุ หรือซึนามิ
ประเทศเขาเองจำเป็นต้องเตรียมตัวเพื่อที่จะรองรับสิ่งต่างๆ เหล่านี้
ระบบเครือข่ายในปัจจุบันที่ใช้อยู่ยังไม่สามารถตอบสนองกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้เร็วพอ
หากการเชื่อมต่อที่มีอยู่ขาดลง การติดต่อสื่อสารต่างๆ ก็จะหยุดชะงักไปเป็นเวลานาน ทำให้การช่วยเหลือเป็นไปได้อย่างลำบาก
อีกเหตุผลหนึ่งก็คือเรื่องการใช้พลังงาน ปัจจุบันญี่ปุ่นมี BGP Router ที่ใช้งานอยู่มากกว่า 350,000 ตัว
ซึ่งกินไฟมหาศาลทำอย่างไรถึงจะลดการใช้พลังงานลงมาได้
ในอนาคตอันใกล้ข้อมูลที่วิ่งอยู่บนอินเตอร์เน็ตนั้นไม่ใช่แค่การคอมพิวเตอร์
(Computer,
Phone, Tablet หรือ อื่นๆ) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
หรือการสื่อสารกันเท่านั้น แต่ในอนาคตอุปกรณ์ทุกอย่างจะสามารถสื่อสารกันได้
ซึ่งผมหมายถึงทุกๆ อุปกรณ์จริงๆ อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดจะถูกเชื่อมต่อเข้ามาในระบบเครือข่าย
หรืออุปกรณ์เดิมที่ไม่เคยต้องใช้ไฟฟ้าก็จำเป็นต้องมี Sensor ติดอยู่ตัวอย่างเช่น
แก้วน้ำที่สามารถบอกอุณหภูมิได้บอกปริมาณน้ำได้
สื่อสารกับเราได้ว่าควรจะกินน้ำเมื่อไรเดี๋ยวมันจะเย็นซะก่อน
ทุกหนทุกแห่งจะเต็มไปด้วย Sensor ไม่ว่าตามท้องถนน
บนตึกรามบ้านช่อง บนรถ หรือในน้ำ เพื่อที่จะใช้ในการบอกสถานะปัจจุบันหรือสภาวะแวดล้อมรอบๆ
Sensor ตัวนั้น ข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการประมวลผล
เพื่อที่จะเก็บข้อมูล
หรือเพื่อที่จะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการส่งคำสั่งในการปฎิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง
จริงๆ แล้วพวก Sensor ต่างๆ
นั้นคงไม่ใช่แค่อุปกรณ์เพื่อส่งข้อมูลอย่างเดียว เพราะด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันเองก็เป็นไปได้แล้วที่จะเอาความสามารถในการประมวลผลใส่เข้าไปในอุปกรณ์เล็ก
ๆ ดังนั้น Sensor ที่ว่าก็จะเปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ตัวเล็กมากๆ
ที่กระจายอยู่ไปทั่วทุกหนแห่ง สามารถตรวจสอบสภาพแวดล้อมได้ สามารถประมวลผลได้
สามารถรายงานผลออกไปยังที่ที่กำหนดไว้ได้ สามารถแสดงผลตามที่กำหนดได้
ปริมาณอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมหาศาลหลายร้อยหลายพันเท่า
ปริมาณข้อมูลที่มีการส่งออกมาจากอุปกรณ์แต่ละตัวยิ่งไม่ต้องคิดเลยว่าจะมีมากมายแค่ไหน
นี่ยังไม่นับรวมถึงพวกข้อมูลประเภทภาพและเสียงที่กลายเป็นการสื่อสารแบบพื้นฐาน
ระบบเครือข่ายเดิมที่ออกแบบมาเพื่อการติดต่อสื่อสารแบบเดิมๆ
คงไม่สามารถรองรับได้แน่ และถึงแม้จะมีการปะผุ แก้ไข
เพิ่มเติมสิ่งใหม่เข้าไปในระบบเครือข่ายเดิมเพื่อขยายความสามารถขึ้น
แต่ก็คงรอรับได้อีกไม่นานสักวันหนึ่งมันก็คงไม่สามารถจะแก้ไขได้
ก็ต้องยกเครื่องกันใหม่ นั้นก็คือที่มาของโครงการ AKARI ที่จะออกแบบระบบเครือข่ายในอนาคต
เครือข่ายในอุดมคติ โดยไม่เอาระบบเครือข่ายเดิมมาเป็นข้อผูกมัดในการออกแบบ
ความต้องการของ
NWGN
การที่เราจะออกแบบอะไรสักอย่างขึ้นมาก็คงต้องมาเริ่มที่ว่าสิ่งที่เราจะออกแบบนั้นออกแบบไปเพื่ออะไร
หรือเอาไปตอบสนองอะไร NWGN
จะแบ่งความต้องการออกเป็นสองกลุ่มคือ
1.
กลุ่มที่ต้องการจะลด คือระบบเครือข่ายตัวใหม่จะต้องช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดกับเรื่องต่างๆ
เช่นเรื่องลดการใช้พลังงาน ลดผลกระทบของภัยภิบัติลง ลดปัญหาอาชญากรรมลง เป็นต้น
·
Energy
Saving
·
Natural
disasters
·
Medical
care
·
Food
·
Crime
Prevention
·
Accidents
·
Dom.
Regional Disparities
·
Intl.
Economic Disparity
·
Education
·
Recurrent
Education
·
Cyber
Security
2.
กลุ่มที่ต้องการจะเพิ่ม
คือเพิ่มความสามารถในการทำงานในเรื่องต่างๆ อย่างเช่น การตอบสนองไลฟ์สไตล์ในการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันได้
ระบบไฮสปีดวีดีโอ ระบบ
e-Government หรือระบบใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นต้น
·
Cultural/Lifestyle
Diversity
·
Media
Convergence
·
Knowledge
Society
·
Service
Productivity
·
Circulation
and Distribution of Value
·
e-Democracy
·
Entertainment
·
Frontier
Fields
แนวทางในการออกแบบ
จากความต้องการเบิกต้นในแง่ของผู้ใช้ว่าผู้ใช้จะได้รับอะไรบ้างเมื่อระบบเครือข่ายใหม่นี้เกิดขึ้น
แต่ความความต้องการที่กล่าวมาแล้วไม่สามารถใช้ในการออกแบบได้
จึงจำเป็นต้องแปลงความต้องการทั้งหมดออกมาเป็นกรอบแนวทางในการออกแบบเพื่อที่จะให้สามารถออกแบบได้อย่างมีเป้าหมายและมีหลักการ
1. Large capacity
เพิ่มความเร็วและความจุที่จำเป็นสื่อสารในระบบเครือข่าย
โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 เท่าของปัจจุบัน ภายในระยะเวลา 13
ปี
2. Scalability อุปกรณ์ต่างๆ
ที่จะมาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายจะหลากหลายมากตั้งแต่เซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงไปจนถึง
Sensor ตัวเล็กๆ ที่ทำงานเพียงอย่างเดียว ถึงแม้ว่าอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ
นี้จะมีการส่งข้อมูลออกมาในระบบเครือข่ายไม่มากนั้น
แต่จำนวนของอุปกรณ์ตัวนี้จะมีจำนวนมหาศาลซึ่งจะส่งผลกระทบกับระบบเครือข่าย
3. Openness ระบบเครือข่ายต้องเปิดกว้างไม่ผูกขาด และให้สามารถแข่งขันกันได้
4. Robustness ตัวระบบเครือข่ายเองต้องสามารถให้บริการได้อยู่ตลอดเวลา
เนื่องจากมีระบบต่างๆ ที่คอยพึ่งพาระบบเครือข่ายอยู่ ยกตัวอย่างเช่น
ระบบทางด้านการแพทย์ ระบบสัญญารไฟจราจร หรือพวกระบบป้ายสัญญาณเป็นต้น
5. Safety ตัวระบบสถาปัตยกรรมเองต้องสามารถพิสูจน์ตัวตนของการเชื่อมต่อไม่ว่าจะเป็นแบบมีสายหรือแบบไม่มีสาย
และยังต้องคงไว้ซึ่งความมั่นคงปลอดภัยและความรวดเร็วในการใช้งานระหว่างช่วงระยะเวลาที่เกิดภัยภิบัติขึ้น
6. Diversity ระบบเครือข่ายต้องถูกออกแบบมาเพื่อให้ครอบคลุมการติดต่อสื่อสารที่หลากหลายรูปแบบโดยห้ามออกแบบมาเพื่อการทำงานของ
Application ตัวใดตัวหนึ่งหรือทำตามแนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้น
7. Ubiquity เพื่อให้การพัฒนานี้กระจายไปทั่วทุกมุมโลกจึงจำเป็นต้องสร้าง Recycling-Oriented
Society ขึ้น และสิ่งที่จะขาดไม่ได้คือระบบเครือข่ายที่จะคอยมอนิเตอร์สภาวะแวดล้อมของทั้งโลกในแง่มุมต่างๆ
8. Integration and simplification ในการออกแบบต้องมีการเชื่อมต่อส่วนที่เป็น
Common เข้าด้วยกัน
แต่การเชื่อมต่อที่ว่าไม่ใช่แค่จับมามัดรวมกัน
แต่ต้องออกแบบให้ง่ายไม่ยุ่งยากเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบ
9. Network model
เพื่อที่จะทำให้ระบบข้อมูลเครือข่ายกลายเป็นระบบข้อมูลพื้นฐานของสังคม
การออกแบบจำเป็นต้องครอบคลุมเรื่องรูปแบบในการดำเนินธุรกิจด้วย
ผู้ให้บริการสามารถใช้โครงข่ายนี้ในการให้บริการข้อมูลประเภทต่างๆ ได้
10. Electric power conservation ด้วยปริมาณอุปกรณ์เครือข่ายทีใช้งานอยู่ปัจจุบันมีจำนวนมาก
ปริมาณการใช้งานและความต้องการใช้พลังงานมีมาก
หรือเปรียบเทียบได้กับต้องมีโรงไฟฟ้าขนาดเล็กสำหรับจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์เครือข่ายเหล่านี้
เพราะฉะนั้นระบบข้อมูลเครือข่ายในอนาคตต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย
11. Extendibility
ตัวระบบเครือข่ายเองต้องมีความยั่งยืน
ตัวระบบเครือข่ายต้องมีความยืดยุ่นสูงรองรับการขยายตัวในอนาคต
เป้าหมาย
เป้าหมายก็คือ
New
Generation Network ที่เริ่มใช้งานในปี 2016
ซึ่งอย่างที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่าในการออกแบบนั้นเป็นการออกแบบใหม่หมดตั้งแต่เริ่มโดยไม่ได้นำระบบเครือข่ายเดิมมาเป็นเงื่อนไขในการออกแบบ
เมื่อได้แบบที่ต้องการแล้ว ถึงจะเริ่มปรับระบบเครือข่ายเดิมให้เข้ารูปโดยมีเป้าหมายคือระบบเครือข่ายแบบใหม่ที่ออกแบบไว้
โดยการปรับเปลี่ยนนั้นก็จะปรับไปเป็น Next Generation Network (NXGN) ก่อน แล้วจึงปรับเป็น New Generation Network (NWGN)
ตัว
NXGN นั่นทาง ITU-T กำลังวางมาตรฐานอยู่
โดยพุ่งเป้าไปที่การวางสถาปัตยกรรมเครือข่ายของผู้ให้บริการมโทรศัพท์เคลื่อนที่
เพื่อให้ระบบเครือข่ายสามารถรองรับการทำงานแบบ Multi-media ได้บนโครงข่ายเดียวกัน
โดยยังคงใช้ระบบเครือข่ายเดิมที่ใช้ IP ในการติดต่อ
แต่จะเป็นการเพิ่มความสามารถใหม่ๆ เข้าไปแทนเช่น เรื่อง Security เรื่อง Authentication และ QoS เพื่อที่จะให้สามารถรองรับบริการใหม่ๆ ได้ในอนาคต
ข้อแตกต่างระหว่าง
Next
Generation Network กับ New Generation Network สามารถสรุปได้ตามตาราง
Attribute
|
Next
Generation Network
|
New
Generation Network
|
Assumed
implementation time
|
By 2010
|
2015 or later
|
Creation method
|
Add QoS and authentication to
existing IP
|
Create new network without being committed to IP
|
Trunk line capacity
|
O-E-O conversion:
Less than Peta-bps capacity
|
All-Optical: Greater than Peta-bps capacity
|
Assumed terminals
and applications
|
Integration and creation of
advanced versions of existing
terminals and applications such
as triple- or quadruple-play services
|
Unknown but highly diverse ranging from devices acting in
conjunction with massive information servers to tiny communication devices
such as a sensor
|
Power consumption
|
Power consumption at several
Megawatts (transformer substation scale)
|
Power conservation by a factor of at least 1/100
according to multi-wavelength optical switching
|
Security
|
Successive violations of
principles such as firewalls, IPSec, and IP trace
back
|
Control spam or DoS attacks by address tracing and end-to-end and
inter-network security
|
Robustness
|
Supported by enhancement of
management function by businesses
|
Robustness is provided by the network itself
|
Routing control
|
Distributed centralized control
following IP, MPLS required
for high-speed rerouting, long
ault detection time
|
Introduction of complete distributed control, increase in failure-resistance
and adaptability, inclusion of sensor nets or ad-hoc nets
|
Relationship
between users and
the network
|
Although there are some
constraints on openness
stipulated by UNI, ANI, and
NNI, reliability is increased
|
Provides openness from a neutral standpoint, and
users can bring new services
|
Quality assurance
|
Priority control for each class
by using IP
|
Quality assurance that includes bandwidth for each flow using packet
switching or paths
appropriately
|
Layer configuration
|
Thick layer structure
|
Layer degeneracy and cross layer control centered
around a thin common layer
|
Integration model
|
Vertical integration orientation
|
Vertical or horizontal integration
Possible
|
Basic principles
|
Set from a business standpoint
while using IP
|
Set from a clean slate to match future requirements
|
Sustainable
evolution
|
Has limitations due to IP
|
Has sustainable evolution capability that can adapt to a changing
society
|
Access
|
Up to 1Gbps for each user
|
Over 10Gpbs for each user
|
Mobile
|
IMS
|
Wired & wireless convergence
|
Number of terminals
|
Up to 10 billion
|
Over 100 billion
|
สรุป
ในไม่อีกกี่ปีข้างหน้าเราก็คงจะได้เห็น
New
Generation Network ของญี่ปุ่นเขา
น่าอิจฉาคนญี่ปุ่นที่หน่วยงานของเขามีวิสัยทัศน์กว้างไกล แถมรัฐบาลก็สนับสนุน
น่าอิจฉาคนญี่ปุ่นที่จะมีระบบเครือข่ายแบบใหม่ใช้ เรื่องความเร็วไม่ต้องพูดถึง
คนละตั้ง 10Gbps ไม่รู้จะใช้ยังไงเต็ม
ไม่เหมือนกับบางประเทศที่แค่ 3G ก็ยังไม่รู้ว่าชาติไหนจะได้ประมูลกัน
ญี่ปุ่นเขาเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยภัยภิบัติ
เขาจำเป็นต้องมีระบบเครือข่ายที่สามารถใช้งานได้แม้จะเกิดภัยภิบัติขึ้นก็ตาม
หรือต้องสามารถกลับมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วหากระบบล่มไป
และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างคล่องตัว นำไปใช้งานได้ในทุกๆ สถานที่และทุกๆ
สถานะการณ์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่จะเป็นการเปลี่ยนในแง่ของ Software มากกกว่า Hardware ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่แค่ที่ญี่ปุ่นเท่านั้นที่คิดเรื่องระบบเครือข่ายแห่งอนาคต
เพราะทางยุโรปอเมริกาเกาหลีหรือจีนก็คิดเรื่องนี้เช่นกัน
อ้างอิง
http://akari-project.nict.go.jp/