วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Green IT


ตอนนี้ปัญหาเรื่องโลกร้อนคงไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับทุกคนเพราะทุกคนคงทราบดีแล้วว่าปัญหาเรื่องโลกร้อนนั้นเป็นปัญหาที่ทุกคนบนโลกต้องช่วยกันแก้ไขป้องกันไม่ให้ปัญหามันบานปลายมากไปกว่านี้ แต่ละคนก็ต่างเป็นพลเมืองของโลกใบนี้ ย้ายหนีไปไหนก็ยังไม่ได้ก็คงต้องช่วยกันคนละไม้ละมือเพื่อให้โลกของเราคงอยู่ต่อไป แต่ละคนก็มีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่แต่ละคนช่วยกันทำนั้นล้วนแล้วแต่ส่งผลทำให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้นด้วยกันทั้งนั้นถึงแม้จะไม่เห็นผลอย่างเด่นชัดก็ตาม พวกเราในฐานะที่อยู่ในแวดวงไอทีเองก็มีหน้าที่ที่สำคัญนี้เช่นกัน
Green IT
คำคำนี้เราเพิ่งจะได้ยินมาไม่นานมานี้เอง เพราะเพิ่งจะมีการตื่นตัวกันในวงการไอทีมาไม่นานนี้เอง ถ้าจะดู Trend จากทาง Google แล้วจะเห็นได้ว่า Green ITเพิ่งจะเริ่มเป็นข่าวอย่างเห็นได้ชัดเมื่อต้นปี 2008 นี่เอง ก่อนหน้านี้ก็เริ่มมีการ search หาข้อมูลกันอยู่บ้างแล้วแต่เพิ่งจะเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะเมื่อต้นปี 2008 ที่ผ่านมาเช่นกัน หากจะดูเพียงแค่นี้ก็จะเห็นได้ว่าเรื่องของภาวะโลกร้อนได้เข้ามาสู่วงการไอทีอย่างจริงจังแล้ว ตั้งแต่ต้นปี 2008 ที่ผ่านมา แต่หากจะไปเทียบกับเรื่องของ ภาวะโลกร้อนจริงนั้นยังแตกต่างกันอยู่มาก   
Trend ของ Green IT โดย Google Trends
เปรียบเทียบ Green IT กับ Global Warming โดย Google Trends
หากดูจากภาพเปรียบเทียบ Trend ของ Green IT กับ Global  Warming แล้วจะเห็นได้ว่าความตื่นตัวทางด้าน Green IT นั้นยังห่างจากทาง Global Warming อยู่อีกมาก ถึงแม้เรื่องของ Global Warming จะมีการพูดถึงมากกว่า Green IT มีคนสนใจเรื่องนี้อย่างมากมายมาเป็นช่วงระยะเวลานานแล้วก็ตาม แต่เรื่องที่เป็นข่าวกลับเพิ่งเริ่มจะบ้างมีในช่วงปลายปี 2004 และเริ่มจะมีมากขึ้นในช่วงปี 2007 นี่เอง ถ้าท่านผู้อ่านลองดูที่มุมทางด้านซ้าย
Energy Saving
ถ้าจะคิดถึงเรื่องว่าในวงการไอทีนั้นจะมีเรื่องอะไรที่เราสามารถช่วยได้ในการลดภาวะโลกร้อน เรื่องแรกที่จะนึกถึงคงหนีไม่พ้นเรื่องการประหยัดพลังงาน เพราะเรื่องของพลังงานนั้นเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด การได้มาซึ่งพลังงานนั้นเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์มากที่สุด เพราะฉะนั้นการที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ที่ง่ายที่สุดก็คือการลดการใช้พลังงาน ต้นปี 2007 รายงานการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโดยองค์การสหประชาชาติในเรื่องของสภาวะโลกร้อนสรุปว่าโลกของเรากำลังร้อนขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่เทคโนโลยีกำลังก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยัง ความเร็วและความสามารถของคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นทุกวันอย่างรวดเร็วกว่าที่ประมาณการไว้ และนั้นก็เป็นส่วนช่วยให้โลกใบนี้ร้อนขึ้นด้วย ในปี 2007 ทาง Gartner ประมาณการว่าปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวเนื่องกับการงานเซิร์ฟเวอร์และพีซีของทั่วโลกมีค่าเท่ากับ 0.75 % ของปริมาณการปล่อยการคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมด แต่ถ้าหากรวมการใช้งานทางด้านระบบโทรคมนาคม และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านไอทีแล้วปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์จะมีถึงประมาณ 2 % เลยทีเดียว ทาง Gartner ยังกล่าวอีกว่าส่วนที่สำคัญของ 2 % ที่ว่าก็คือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเครื่องพีซีคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่จำนวนมากในโลก ซึ่งสามารถเทียบเท่ากับปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเครื่องบินทุกลำบนโลกเลยทีเดียว McKinsey ประมาณการว่าในปี 2020 ปริมาณการปล่อยก๊าซจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าเลยทีเดียว
โดยทั่วไปปริมาณการใช้ไฟฟ้าทางด้านไอทีของแต่ละบริษัทจะมากกว่า 20% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด บางบริษัทอาจจะสูงถึง 70% เลยทีเดียว แต่ถึงแม้ว่าค่าใช่จ่ายทางด้านพลังงานของงานทางด้านไอทีจะเทียบได้ประมาณไม่ถึง 10% ของงบประมาณทางด้านไอที แต่ทาง Gartner ยังได้คาดเดาไว้ในปี 2006 ว่าในอนาคตค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานอาจจะสูงกว่า 50% ของงบประมาณด้านไอที ซึ่งทาง Google ก็ออกมายืนยันในเรื่องนี้เพราะว่าค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทั้งปีของ Google นั้นมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่า Server ของเขาเสียอีก
จากการศึกษาระบุว่าระหว่าง 30-60% ของการใช้งานไฟฟ้าในห้อง Server นั้นถูกใช้ไปโดยเปล่าประโยชน์ ในปี 2007 ทาง EPA ได้รายงานกับทางสภาคองเกรซว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพของ Data Center ที่มีการใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดในการบริการจัดการพลังงานทำให้สามารถลดการใช้พลังงานได้ 30-70% เลยทีเดียวโดยการใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดในการจัดการกับระบบให้ความเย็นและอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยี Virtualization ร่วมด้วย
Toxic Chemical
ตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมามีสารเคมีที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ไม่ต่ำว่า 70,000 ชนิด และมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ถูกทดสอบว่าเป็นอันตรายกับคนเราหรือไม่กระบวนการในการผลิตอุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์นั้นมีการใช้สารต่างๆ เข้ามาเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์มากมาย ซึ่งสารหลายๆ ตัวนั้นเป็นอันตรายต่อผู้ที่เข้าไปสัมผัสและต่อมามีการศึกษาแล้วว่าสารบางชนิดที่ใช้ในกระบวนการผลิตอุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์นั้นเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งด้วย ตัวอย่างสารพิษสำคัญๆ ที่ใช้กันอยู่ในกระบวนการผลิตอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ได้แก่
Lead ตะกั่วเป็นสาระสำคัญในวงการอีเล็กโทรนิกส์ ตะกั่วเป็นสาระสำคัญที่ใช้สำหรับเชื่อมแผ่นวงจรและตัว IC เข้าด้วยกัน ในอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวนั้นเราก็จะพบตะกั่วอยู่จำนวนไม่มากนัก แต่อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่มีตะกั่วอยู่มากก็คือตัว Cathode-Ray Tube (CRT) หรือจอคอมพิวเตอร์แบบ CRT นั้นเอง ซึ่งโดยปรกติแล้วจอ CRT นั้นจะมีตะกั่วอยู่ประมาณ 1.36 กิโลกรัมด้วยกัน เมื่อถูกสารตะกั่วเป็นเวลานานทำให้เกิดโรคปัญญาเสื่อมถ่อยลงได้ ในเด็กสามารถทำลายระบบประสาทและเลือดได้ด้วย
Cadmium, Hexavalent Chromium และ Decabromodiphenyl Ether ทั้งหมดเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งถ้ายังพอจำกันได้ Hexavalent Chromium คือสาระที่ก่อมะเร็งที่ทำให้เกิดการฟ้องร้องกันในหนังเรื่อง Erin Brockovich ซึ่ง Hexavalent Chromium ส่วนใหญ่จะใช้ในการกัดกร่อนผิวของอลูมิเนียมให้เป็นรูปต่างๆ บางส่วนถูกใช้ในวงการสีเพื่อให้สีนั้นมีการยึดเกาะที่ดีขึ้น Cadmium ที่ใช้ใน Battery มีผลต่อกระดูกและไต
Arsenic และ Mercury สารทั้งสองชนิดเป็นสารมาตรฐานที่ใช้ในอุตสาหกรรม Liquid Crystal Display (LCD) ตัว Arsenic เป็นสาระสำคัญที่ถูกเพิ่มเข้ามาในการผลิตแก้วคุณภาพสูงที่ใช้ใน LCD เพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนรูป ส่วน Mercury หรือปรอทใช้ใน Fluorescent Lamp เพื่อให้แสงสว่างกับ LCD ดังนั้นจอ LCD ส่วนใหญ่จึงมีทั้ง Arsenic และ Mercury ตัว Arsenic นั้นสามารถเอาออกจากกระบวนการผลิต LCD ได้โดยการปรับเปลี่ยนกรรมวิธีการผลิต แต่ Mercury นั้นยังงัยก็ต้องมีอยู่ถ้ายังเทคโนโลยี LCD การจะขจัด Mercury ออกไปอย่างถาวรก็คือการเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก Fluorescent Lamp เป็น LEDs เพื่อให้แสงสว่างแทน
Polyvinyl Chloride (PVC) และ Brominates Flame Retardants (BFR) เป็นชนิดของพลาสติกซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในวงการการก่อสร้าง แต่ก็มีการใช้กันเป็นส่วนประกอบของชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ พวกสายเคเบิลซึ่งตัว BFR เองนั้นไม่ค่อยติดไฟเลยช่วยให้ความเสี่ยงที่จะเกิดไฟไหม้ลดน้อยลง BFR ยังเป็นส่วนประกอบของ แผงวงจรและพลาสติกที่ใช้ในคอมพิวเตอร์อีกด้วย การได้รับสาร BFR เป็นเวลานานทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ลดลง มีผลต่อความจำ มีผลต่อต่อมไทรอย มีผลต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงอีกและยังมีโรคทางประสาทอีกด้วย
E-Waste
ข้อมูลจาก Silicon Valley Toxics Coalition ระบุว่าปัจุบันขยะอิเล็กโทรนิกส์ หรือ Electronic Waste หรือ E-Waste นั้นมีปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ ในกระบวนการผลิตอุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์นั้นมีการใช้สารเคมีมากมายเช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม สารต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งมันยังปลอดภัยอยู่ขณะที่เราใช้งานอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ต่างๆ แต่เมื่อมันกลายไปเป็นขยะ อีเล็กโทรนิกส์แล้ว สารต่าง ๆ เหล่านี้อาจรั่วไหลออกมาได้ ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งส่งผลต่อสภาวะโลกร้อนแล้ว ยังส่งผลโดยตรงถึงคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับขยะเหล่านี้ด้วย Silicon Valley Toxics Coalition ประมาณว่าแต่ละปีจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลิกใช้แล้วถึง 500 ล้านเครื่อง และมีโทรศัพท์มือถือที่เลิกใช้แล้วเช่นกันถึง 130 ล้านเครื่อง นี่เป็นการประมาณการเฉพาะในประเทศสหรัฐเท่านั้น 
ภาพจาก www.globalwarmingsolutions.org
ข้อมูลจาก Silicon Valley Toxics Coalition, http://www.svtc.org
ข้อมูลจาก Silicon Valley Toxics Coalition ยังแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนย้ายขยะอีเล็คโทรนิกส์จาก California ซึ่งเป็นที่ตั้งของ Silicon Valley เมืองไอทีไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขนส่งมาที่ทวีปเอเชียของเราเสียด้วย ก่อนหน้านี้ท่านผู้อ่านคงเคยได้ยินข่าวในบ้านเราที่มีตู้ Container บรรจุอุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์จำนวนมากส่งมาที่บ้านเรา แต่ไม่มีใครเข้าไปขอรับตู้ Container เหล่านี้ หาต้นตอก็ไม่เจอว่าเป็นของใคร เพราะมันคือขยะอีเล็กโทรนิกส์ที่ไม่มีใครต้องการแล้ว จะทิ้งทีประเทศเขาก็กระไรอยู่ ส่งไปทิ้งที่ประเทศอื่นดีกว่า
ข้อมูลจาก Greenpeace ระบุว่าจำนวนอุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์ที่ถูกทิ้งแต่ละปีนั้นมีสูงถึง 20-50 ล้านตันถ้าพูดแค่นี้อาจจะนึกภาพไม่ออกแต่ถ้าหากเราเอามาใส่ตู้คอนเทนเนอร์แล้วนำมาเรียงต่อกันเป็นเป็นเส้นก็สามารถต่อเป็นเส้นรอบโลกได้เลยทีเดียว E-Waste มีปริมาณถึง 5% ของประมาณขยะทั้งหมดซึ่งมีปริมาณเทียบเท่ากับปริมาณขยะพลาสติกเลยทีเดียวแต่มีอันตรายสูงกว่าเยอะ ไม่ใช่แค่เพียงกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้นที่จะมีขยะ E-Waste ในทวีปเอเชียของเรานั้นก็มีสูงถึง 12 ล้านตันต่อปี นับวัน E-Waste ยิ่งกลายเป็นปัญหาใหญ่เพราะแต่ละวันก็จะมีสินค้าไฮเทคออกมาขายเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ มือถือรุ่นใหม่ ทีวีรุ่นใหม่ใหญ่กว่าเดิม เครื่องเสียง เครื่องพริ้นเตอร์ ความต้องการสินค้าไฮเทคมีมากขึ้นเรื่อยๆ คนก็เปลี่ยนอุปกรณ์เก่าๆ ไปเป็นอุปกรณ์ใหม่ๆ เปลี่ยนคอมพิวเตอร์ช้าๆ เครื่องเดิมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เร็วๆ เปลี่ยนมือถือเก่าทิ้งไป เป็นมือถือรุ่นใหม่ ยิ่งในปัจจุบันมือถือกลายเป็นสินค้าแฟชั่นมีการเปลี่ยนการใช้งานเร็วยิ่งกว่าเดิม อายุการใช้งานมือถือในประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉลี่ยมีอายุไม่ถึง 2 ปีแต่ในบางกลุ่มอาจจะต่ำว่า 1 ปีด้วยซ้ำ ส่วนอายุของคอมพิวเตอร์นั้นแต่เดิมมีอายุการใช้งาน 6 ปีในปี 1997 เหลือเพียงแค่ 2 ปีในปี 2005 แล้วท่านผู้อ่านเคยสงสัยไหมครับว่าคอมพิวเตอร์เก่าๆ ของเรา มือถือที่ไม่ใช้แล้ว หรือพวก Battery นั้นหายไปไหนกัน
เผา
หนทางแรกที่คิดได้ง่ายที่สุดก็คือการเผาให้เป็นเถ้าถ่านอย่างน้อยก็เป็นการลดปริมาตรของตัว E-Waste ลง แต่อย่าลืมนะครับว่าสะสารนั้นไม่มีวันหายไปไหนมีแต่การเปลี่ยนรูปไปเท่านั้น พวกโลหะหนักเช่น ตะกั่ว แคดเมียม และปรอท ก็จะระเหยขึ้นสู่บรรยากาศกลายเป็นมลพิษที่สะสมอยู่ในวงจรชีวิตวงจรอาหารของเราเช่น สะสมอยู่ในปลา
ฝังกลบ
จากข้อมูลของ EPA ระบุว่าในปี 2000 มีขยะ E-Waste ถูกฝังกลบเฉพาะภายในประเทศสหรัฐอเมริกาสูงกว่า 4.6 ล้านตัน ซึ่งสารเคมีต่างๆ ที่อยู่ในขยะ E-Waste เหล่านี้สามารถรั่วไหลเข้าไปในดิน หรือระเหยสู่ชั้นบรรยากาศ และส่งผลกับสภาพแวดล้อมข้างเคียง ในฮ่องกงประมาณว่า 10-20% ของคอมพิวเตอร์ที่เลิกใช้แล้วถูกฝังกลบลงไปในดิน 
Reuse
การนำกลับไปใช้ใหม่ก็เป็นอีกวีธีหนึ่งที่ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์เหล่านี้ให้สามารถใช้งานได้นานขึ้น มีสินค้าอีเล็กโทรนิกส์มือสองหลายชนิดถูกส่งจากประเทศที่พัฒนาแล้วไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา จริงๆ แล้วก็เป็นการดีที่เราสามารถเพิ่มอายุการใช้งานได้ แต่จริงๆ แล้วสินค้าเหล่านี้ก็สามารถใช้งานได้อีกเพียงไม่กี่ปี ซึ่งหลังจากนั้นก็จะกลายเป็นภาระในการกำจัด E-Waste ของประเทศนั้นที่รับสินค้าเหล่านี้ไป
Recycle
วิธีการรีไซเคิลน่าจะเป็นวิธีการที่ดีในการนำส่วนประกอบของอุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์กลับมาใช้ใหม่ แต่ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องสารเคมีที่อยู่ในอุปกรณ์เหล่านั้นจะย้อนกลับมาทำร้ายผู้ที่ทำการรีไซเคิล ในประเทศที่พัฒนาแล้วกระบวนการรีไซเคิลขยะ E-Waste นั้นเกิดขึ้นในโรงงานที่มีการควบคุมการทำงานเพื่อไม่ให้สารเคมีที่อยู่ในอุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์นั้นแพร่กระจายของสารเคมีอันตราย แต่ส่วนประกอบบางอย่างก็ไม่สามารถรีไซเคิลได้เช่น พลาสติกของ E-Waste ที่อาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของ Brominated Furans และ Dioxins สู่ชั้นบรรยากาศ
Export
ขยะ E-Waste นั้นถูกส่งออกจากประเทศที่พัฒนาแล้วไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่ตลอดเวลาซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายระหว่างประเทศ จากการตรวจสอบท่าเรือในยุโรป 18 แห่งในปี 2005 พบว่า 47% ของขยะ (ซึ่งรวมถึง E-Waste ด้วย) ที่เตรียมจะทำการส่งออกนั้นกระทำโดยผิดกฎหมาย ในอังกฤษปี 2003 อย่างน้อย 23,000 Metric Tonnes ของการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ที่ไม่มีการระบุว่าเป็นอะไรออกไปยังอินเดีย แอฟริกา และ จีน โดยผิดกฎหมาย
ภาพ E-Waste ถูกส่งไปที่ไหนบ้าง
ในปี 1990 รัฐบาลในกลุ่มประเทศยุโรป ญี่ปุ่นและบางรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกาได้สร้างระบบ Recycle ของ E-Waste ขึ้น แต่ว่าหลายๆ ประเทศยังไม่มีความสามารถในการรับมือกับปริมาณขยะ E-Waste จำนวนมากที่ตนเองผลิตขึ้น ประเทศเหล่านั้นจึงทำการส่งออกขยะ E-Waste เหล่านี้ไปยังประเทศที่ยังไม่มีกฎหมายในการควบคุมกระบวนการในการ Recycle ขยะ E-Waste เหล่านี้แทน เป็นการส่งออกปัญหาจากประเทศของตนไปยังประเทศที่ยังไม่รู้เท่าทันกับอันตรายที่จะตามมากับสินค้า E-Waste เหล่านี้ อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการ Recycle ของประเทศที่กำลังพัฒนานั้นถูกว่าการทำในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งถ้าเรายังไม่มีกรรมวิธีในการกำจัดขยะอีเล็กโทรนิกส์เหล่านี้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพแล้ว ปัญหาต่างๆ ก็จะเริ่มผุดขึ้นมาเรื่อยๆ การกำจัดขยะนั้นก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ใช่ว่าไม่ควรทำเพราะมันเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่อย่างไรเราก็ต้องแก้ไข แต่เราควรจะมีแนวทางแก้ปัญหาที่ต้นเหตุด้วย
EPEAT
EPEAT เป็นระบบที่ผู้ผลิตสามารถใช้เป็นตัวบอกได้ว่าสินค้าของตัวเองนั้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแค่ไหน ซึ่ง EPEAT นั้นอาศัยมาตรฐานของ IEEE 1680 เป็นตัวกำหนดระดับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของสินค้าอีเล็กโทรนิกส์แต่ละตัว EPEAT ยังเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ซื้อนั้นสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการซื้อการเปรียบเทียบอุปกรณ์ทางด้านอีเล็กโทรนิกส์ต่างๆ อีกด้วย ซึ่งตัวระบบนี้นั้นครอบคลุมอุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์ประเภท เครื่อง Desktop เครื่อง Notebook เครื่อง Workstation และ Monitor
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า EPEAT นั้นอาศัยมาตรฐานของ IEEE 1680 ซึ่งเป็นมาตรฐานของอุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์ เครื่อง Desktop, Notebook และ Monitor ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 23 ตัวของ IEEE 1680 แล้วจึงจะสามารถลงทะเบียนกับ EPEAT ได้ โดย EPEAT แบ่งเป็น 3 ระดับคือ Gold, Silver และ Bronze ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์แต่ละตัวนั้นจะผ่านเกณฑ์เพิ่มเติมนอกเหนือจากเกณฑ์มาตรฐานอีกกี่ตัวจากทั้งหมด 28 ตัว
ภาพจาก http://www.epeat.net/
จากข้อมูลล่าสุด (กรกฎาคม 52) จำนวนอุปกรณ์ที่ผ่านเกณฑ์ของ EPEAT มีทั้ง 1212 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่อง Notebook รองลงมาเป็นพวก Monitor แต่ก็เป็นที่น่ายินดีว่าอุปกรณ์ส่วนใหญ่ยังได้ระดับ Silver และ Gold มีเพียงแค่ 30 ชิ้นเท่านั้นที่ได้ระดับ Bronze
ภาพจาก http://www.epeat.net/
EPEAT จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ยื่นขอรับรองตามเกณฑ์ของ IEEE 1680 จำนวนทั้งหมด 51 ข้อด้วยกัน แบ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐาน 23 ข้อและเกณฑ์เพิ่มเติมอีก 28 ข้อ ซึ่งถ้าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 23 ข้อก็จะได้ระดับ Bronze นอกเหนือจากเกณฑ์มาตรฐานแล้วถ้าผ่านเกณฑ์เพิ่มเติมอีก 14 ข้อขึ้นไป ก็จะได้ระดับ Silver แต่ถ้าผ่าน 21 ข้อขึ้นไปก็จะได้ระดับ Gold เกณฑ์ของ EPEAT ส่วนใหญ่ก็เกี่ยวข้องกับตัวอุปกรณ์ว่าจะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในทางใดบ้าง บางส่วนจะเกี่ยวกับตัวองค์กรว่าองค์นั้นมีนโยบายเกี่ยวกับสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
 All IEEE 1680 Criteria - Required and Optional 
4.1
Reduction/elimination of environmentally sensitive materials











  O  4.1.8.1   Large plastic parts free of PVC
4.2
Materials selection






4.3
Design for end of life




  R  4.3.1.4   Marking of plastic components






  O  4.3.2.1   Manual separation of plastics

  O  4.3.2.2   Marking of plastics
4.4
Product longevity/life cycle extension


  R  4.4.2.1   Upgradeable with common tools

  O  4.4.2.2   Modular design

  O  4.4.3.1   Availability of replacement parts
4.5
Energy conservation

  R  4.5.1.1   ENERGY STAR®



4.6
End of life management


  O  4.6.1.2   Auditing of recycling vendors

4.7
Corporate performance





  O  4.7.3.2   Corporate report based on GRI
4.8
Packaging


  R  4.8.2.1   Separable packing materials





Energy Star
Energy Star เป็นโครงการที่รวมมือกันระหว่าง Environmental Protection Agency (EPA) และ Department of Energy ของประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อที่จะกำหนดมาตรฐานการใช้พลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่ง Energy Star นั้นไม่ใช่จะมีเพียงแค่อุปกรณ์ทางด้านไอทีเท่านั้นทาง EPA ยังมีการกำหนดมาตรฐานการใช้ไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ใช้งานในบ้านตัวอื่นๆ ด้วยตัวอย่างเช่น เครื่องชาร์ตแบตเตอร์รี่ เครื่องซักผ้า เครื่องล้างจาน ตู้เย็น แอร์คอนดิชั่นเนอร์ เครื่องต้มน้ำ เป็นต้น จริงๆ น่าจะมีเกือบครบทุกอุปกรณ์ก็ว่าได้ ถ้าหันมาเปรียบเทียบกับบ้านเราก็คงไม่ต่างอะไรกับ “เบอร์ 5” ไม่ว่าจะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไร ขอให้มี “เบอร์ 5” เป็นใช้ได้ แต่ว่าบ้านเรายังไม่สามารถผลิตอุปกรณ์ทางด้านไอทีได้เอง เพราะฉะนั้นอุปกรณ์ทางด้านไอทีจึงยังไม่มี “เบอร์ 5 “ ก็เลยจำเป็นต้องใช้ Energy Star ไปก่อน

การใช้พลังงานสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้านับเป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องแรกๆ ที่เรานึกถึงเมื่อเราต้องการที่จะช่วยไม่ให้โลกร้อนขึ้นไปกว่านี้ นั้นก็คือการลดการใช้พลังงานให้ใช้เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น เพราะแหล่งที่มาของพลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ก็มาจากการเผาถ่านหินและน้ำมัน ซึ่งผลพวงของการเผาทั้งสองอย่างนี้ก็คือการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ในส่วนของโลกไอทีอุปกรณ์ทั้งหมดจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าไม่ว่าจากแหล่งใดก็แหล่งหนึ่ง อุปกรณ์จำพวกเครื่องคอมพิวเตอร์ และจอมอนิเตอร์นั้นหากต้องการที่ผ่านเกณฑ์ของ EPEAT ก็จำเป็นต้องผ่านเกณฑ์ของ Energy Star เสียก่อน
ปัจจุบันหลักเกณฑ์ของ Energy Star ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์นั้นเพิ่งประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1กรกฏาคม 2552 นี่เอง ซึ่งเวอร์ชั่นปัจจุบันเป็นเวอร์ชั้นที่ 5 แล้วหรือที่เรียกว่า Enery Star 5.0 ซึ่งตัวเกณฑ์ Energy Star 5.0 นี้จะเป็นมาตรฐานสำหรับเครื่อง Desktop เครื่อง Labtop เครื่อง Workstation เครื่อง Thin Client และ Monitor โดยปรกติแล้วผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละเจ้านั้นก็จะผลิตทั้งเครื่องที่มีคุณสมบัติพอที่จะได้ Energy Star และเครื่องที่ไม่มีคุณสมบัติพอที่จะได้ Energy Star ดังนั้นในการตรวจสอบผู้ผลิตเองจำเป็นต้องส่งรายละเอียดของอุปกรณ์ในแต่ละรุ่นที่ต้องการได้รับการรับรองจาก Energy Star เป็นรายรุ่นของแต่ละอุปกรณ์ ในส่วนของผู้ซื้อเองก็จำเป็นที่จะต้องดูในรายละเอียดของแต่ละรุ่นว่ารุ่นนั้นได้ Energy Star หรือเปล่า ไม่ใช่ดูเพียงแค่ว่าผู้ผลิตรายนี้เคยได้ Energy Star มาแล้วก็จบ และในส่วนของ EPEAT นั้นทางผู้ผลิตก็ต้องทำเช่นเดียวกับ Energy Star คือการส่งรายละเอียดให้รับรองเป็นรายรุ่นของแต่ละอุปกรณ์

Computer Test Data – General

Meets ENERGY STAR Requirements?
WOL Enabled From Sleep


WOL Enabled From Off

Power Management Default Setting - Display


Power Management Default Setting - Computer


Computer Test Data – Desktop, Integrated Desktop, Notebook

Meets ENERGY STAR Requirements?
Category for TEC Criteria


Eligible Capability Adjustments (kWh)

TEC Requirement (with adjustments)

Power in Off

Power in Sleep

Power in Idle

TEC


Computer Test Data – Workstation

Meets ENERGY STAR Requirements?
Power in Off


Power in Sleep

Power in Idle

Maximum Power

PTEC


Power Supply Information

Power Supply Manufacturer

Power Supply Model Number

Power Supply Test Data

Meets ENERGY STAR Requirements?
Computer Uses an External Power Supply? (Y/N)


EPS – Nameplate Output Power


EPS – Nameplate Output Voltage

EPS – Nameplate Output Current

EPS – No Load power

EPS - Average Active Efficiency

EPS – Power Factor at 100% Output

Computer Uses an Internal Power Supply? (Y/N)


IPS – Nameplate Output Power


IPS – Power Factor @ 100% rated output

IPS – Efficiency @ 20% rated output

IPS – Efficiency @ 50% rated output

IPS – Efficiency @ 100% rated output

บางส่วนของ Report จาก Energy Star
Greenpeace
Greenpeace อีกหนึ่งองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อปกป้องธรรมชาติในโลกของเรา Green Peace เริ่มเข้ามามีส่วนเกี่ยวของกับการผลิตอุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์ตั้งแต่ปี 2006 ที่ผ่านมา ซึ่งทาง Green Peace ได้ออกรายงาน “Guide to Greener Electronics” ในช่วงเดือนสิงหาคมปี 2006 โดยการจัดอันดับผู้ผลิตเครื่องพีซี โทรศัพท์มือถือ ทีวี เครื่องเล่นเกมส์ อันดับต้นๆ ของโลกทั้งหมด 18 รายด้วยกัน ทุก ๆ 4 เดือนก็จะมีการออกรายงานนี้ 1 ครั้ง ซึ่งปัจจุบันเป็นรายงานฉบับที่ 16 แล้ว ประกาศออกมาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2010 นี้เอง



 จากรายงานนี้ระบุว่าปัจจุบัน Nokia คือผู้ผลิตที่มีคะแนนสูงสุดได้คะแนน 7.5 จากคะแนนเต็ม 10 ซึ่งต้องได้คะแนนเต็ม 10 ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ผลิตสินค้า Green Electronics อย่างแท้จริง โดยเกณฑ์การให้คะแนนนั้นทาง Green Peace กำหนดไว้เป็น 3 หัวข้อใหญ่คือ Toxic Chemical, E-Waste และ Energy
เกณฑ์ด้าน Toxic Chemical
ในกระบวนการผลิตอุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์นั้นมีการใช้สารเคมีจำนวนมากมาย ซึ่งหลายๆ ตัวก็เป็นปัญหากับทั้งผู้ผลิต (คนงาน) เป็นปัญหากับผู้ใช้ และเป็นปัญหากับโลกเกณฑ์หลักๆ ของข้อนี้ก็คือการลดการใช้งานสารเคมีที่เป็นอันตราย ได้แก่ PVC และ BFR (Brominates Flame Retardants) เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์ที่ผู้ผลิตรายนั้นเป็นคนผลิตขึ้นมา ซึ่งเกณฑ์นี้ไม่ใช่กำหนดเพียงแค่ตัวโรงงานของผู้ผลิตเท่านั้นแต่ยังหมายรวมไปถึง ของคู่ค้าที่ส่งชิ้นส่วนเข้ามาเป็นส่วนประกอบของสินค้าตัวนั้นๆ ด้วย ซึ่งคะแนนเต็มข้อนี้คือ 18 คะแนน ถ้าผู้ผลิตรายไหนสามารถยกเลิกการใช้สารเคมีนี้เป็นส่วนประกอบของสินค้าตัวเองได้ทั้งหมดก็จะได้คะแนนเต็มข้อนี้ไป ตอนหลังมีการเพิ่มชนิดของสารเคมีอันตรายเพิ่มเติมเข้าไปอีกคือ
·         Phthalates
·         Beryllium (include Alloys and Compound)
·         Antimony / Antimony Compound



เกณฑ์ด้าน E-Waste
ในส่วนของเกณฑ์ทางด้าน E-Waste นั้นทาง Greenpeace คาดหวังว่าผู้ผลิตนั้นจะมีมาตรการในการจัดการกับขยะอีเล็กโทรนิกส์ที่เกิดขึ้นจากการผลิตของตน เพื่อที่จะรับคืนสินค้าที่ไม่มีการใช้งานแล้วคืนมาจากผู้ใช้ แล้วนำไปบำบัดไม่ใช่ปล่อยให้เป็นขยะอีเล็กโทรนิกส์ที่ไม่มีใครสนใจ


เกณฑ์ด้าน Energy
ในเรื่องของ Energy นั้นทาง Greenpeace กำหนดไว้ 5 ข้อด้วยกันคือ
·         ให้การสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG)
·         เปิดเผยรายชื่อบริษัทคู่ค้าที่ปล่อยก๊าซ GHG
·         มีแนวทางและระยะเวลาที่ชัดเจนในการลดการปล่อยก๊าซ GHG ของตนเอง
·         ปริมาณการใช้พลังงานทางเลือก
·         ต้นแบบการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ



Aug-06
Dec-06
Apr-07
Jun-07
Sep-07
Dec-07
Mar-08
Jun-07
Sep-08
Nov-08
Mar-09
Jul-09
Nokia
7
7.3
7.3
8
8
6.7
7.3
4.8
7
6.9
7.5
7.45
Samsung
5
4
6.3
6.7
6.7
7.7
7.7
4.5
5.7
5.9
6.9
7.1
Sony Ericsson
5.3
5.7
7
7
7.7
7.7
6.7
5.1
5.3
5.9
5.7
6.5
LG Electronics
4.3
4
3.6
4.3
7
7
6.7
3.3
4.9
5.7
5.5
5.7
Toshiba
3
3.7
4.3
6
6
7
7.7
4.3
4.7
5.9
5.3
5.5
Motorola
1.7
6
6.3
6.7
6.7
5
6.3
4.3
3.7
5.3
5.3
5.5
Philips
na
na
na
na
na
2
4.3
3.7
4.3
4.1
5.7
5.3
Sharp
na
na
na
na
na
4.7
5
3.9
3.1
4.9
4.9
5.3
Acer
2.3
5.3
5.3
5.3
5.7
5.7
5.7
4.3
4.5
4.7
4.5
4.9
Panasonic
3.3
4.3
3.6
5
5
5
4.7
4.3
4.5
5.1
4.3
4.9
Apple
2.7
2.7
2.7
5.3
5.3
6
6.7
4.1
4.1
4.3
4.7
4.7
Sony
4.7
5
4
4
7
7.3
7.3
5.1
5.3
5.3
5.5
4.5
Dell
7
7
7
7.3
7.3
7.3
7.3
4.5
4.7
4.7
3.7
3.9
HP
4.7
5.7
5.6
5.3
5.3
6.7
6.7
4.3
4.7
4.5
2.7
3.5
Microsoft
na
na
na
na
na
2.7
4.7
2.15
2.2
2.9
2.7
2.5
Lenovo
1.3
5.3
8
7.3
7.3
7.3
7.3
3.9
4.1
3.7
3.1
2.5
Fujitsu
3
6
6
6
7
7
6.7
3.7
5.5
5.7
na
2.4
Nintendo
na
na
na
na
na
0
0.3
0.8
0.8
0.8
0.8
1
เมื่อนำข้อมูลคะแนนแต่ละครั้งมาเปรียบเทียบกันเราก็จะได้เห็นพัฒนาการในความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ของ Greenpeace มีหลายบริษัทที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องซึ่งดูได้จากคะแนนที่เพิ่มมากขึ้น ยกเว้นช่วงเดือน Jun 07 ที่ทาง Greenpeace มีการปรับเกณฑ์เพิ่มมากขึ้นทำให้คะแนนของทุกบริษัทตกลงไป แต่ในบางบริษัทคะแนนมีขึ้นมีลงอยู่ตลอด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะสินค้าที่ออกมาใหม่นั้นไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของ Greenpeace นั้นเอง
Technology สำหรับ Green IT
Forrester ได้ทำการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Green IT เพื่อที่จะระบุว่าเทคโนโลยีใดจะเป็นส่วนสำคัญสำหรับองค์การต่าง ๆในการสร้าง Green ITภายในองค์กรของตนเอง ซึ่งจากการศึกษาของ Forrester สามารถระบุเทคโนโลยีที่สำคัญ 15 เทคโนโลยีแรก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการวางโครงสร้างระบบ Infrastructure หลักขององค์กร ซึ่งทาง Forrester เรียกกลุ่มเทคโนโลยีนี้ว่า Green IT 1.0  
      10 GbE (10 gigabit per second Ethernet)
      Clean energy to power data centers
      Client virtualization
      Cloud computing services
      Data center outsourcing and colocation services
      IT asset disposal and recycling services
      IT energy measurement
      Localized cooling
      Managed printing services
      PC power management software
      Server power management software
      Server virtualization
      Solid-state disk (SSD)
      Storage capacity optimization
      Thin clients
ทั้งหมดเป็น List ของเทคโนโลยีที่จะมีความสำคัญในการมุ่งไปสู่ Green IT นอกเหนือจาก List รายชื่อของเทคโนโลยีแล้ว ทาง Forrester ยังได้แบ่งกลุ่มของเทคโนโลยีออกมาเป็นหลาย Phase ตามการยอมรับและการใช้งาน โดยแบ่งเป็น Creation, Survival, Growth, Equilibrium และ Decline เรายังสามารถทราบได้อีกว่าหากเลือกที่จะใช้เทคโนโลยีตัวไหนแล้วจะเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจเราได้มากที่สุดอีกด้วย
ทาง Gartner เองก็มีการศึกษาในเรื่องนี้เหมือนกัน ซึ่งทาง Gartner ก็ออกมาบอกว่าในส่วนของผู้ใช้เองก็เริ่มที่จะสับสนในเรื่องของ Green IT และจับต้นชนปลายไม่ถูกว่าจะเริ่มอย่างไรดี หลังจากการศึกษาแล้วทาง Gartner ได้แบ่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวของกับ Green IT ออกเป็น 3 ช่วงด้วยกันคือ ระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว
ในระยะสั้นหรือระยะที่ต้องเริ่มทำทันที่ในกรอบระยะเวลาประมาณ 24 เดือน จุดใหญ่ก็จะอยู่ที่การจัดการพลังงาน ระบบความเย็น การจัดการพื้นที่ใช้สอยทั้งใน Data Center และในสำนักงานโดยมีรายชื่อเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องดังนี้
-       Modern data center facilities' design concepts
-       Advanced cooling technologies
-       Use of modeling and monitoring software
-       Virtualization technologies for server consolidation
-       Processor design and server efficiency
-       Energy management for the office environment
-       Integrated energy management for the software environment
-       Combined heat and power
ระยะกลางหรือประมาณ 2 – 5 ปี เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Green IT หลายตัวจะมีความสามารถพร้อมเต็มที่ที่จะรองรับการทำงานในแบบ Green IT และจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่แต่ละองค์จำเป็นต้องใช้ แต่ไม่ใช่รอไปอีก 2 ถึง 5 ปีแล้วค่อยเริ่มที่จะคิดนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาใช้งาน จำเป็นต้องมีการวางแผนงานล่วงหน้าเพื่อให้ระบบ Infrastructure สามารถรองรับการทำงานของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้
-       Green IT procurement
-       Green asset life cycle programs
-       Environmental labeling of servers and other devices
-       Videoconferencing
-       Changing people's behaviors
-       Green accounting in IT
-       Green legislation in data centers
-       Corporate social responsibility (CSR) and IT programs
ในระยะยาวหรือประมาณ 5 – 20 ปี คงมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Green IT มากมาย แต่หลายต่อหลายเรื่องก็ยังเป็นประเด็นที่ไม่ค่อยชัดเจนนักว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตหรือเปล่า หรือสิ่งที่มีอยู่แล้วจะยังคงเป็นมาตรฐานต่อไปได้เรื่อยๆ หรือเปล่า ทาง Gartner เองได้คาดว่าเทคโนโลยีเหล่านี้น่าจะมีผลเรื่อง Green IT ในอนาคต
-       Carbon offsetting and carbon trading
-       Data center heat recycling
-       Alternative energy sources
-       Software efficiency
-       Green building design
-       Green legislation
-       Green chargeback
Corporate Sustainability
ปัจจุบันประเด็นเรื่อง CSR (Corporate Social Responsibility) กำลังมาแรงแต่ละบริษัทก็อยากทำอะไรเพื่อสังคมเพราะกลัวตกกระแสถ้าจะพูดถึงเรื่องมาตรฐานสากลก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของ ISO 26000 ซึง CSR ก็เป็นเรื่องหนึ่งใน ISO 26000 ด้วย พอพูดเรื่องการทำอะไรเพื่อสังคมแล้วหลายต่อหลายองค์กรก็ไปนึกถึงเรื่องการทำบุญการบริจาคเงินบริจาคสิ่งของให้กับผู้ด้อยโอกาส ซึ่งเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดที่สามารถทำได้ แต่พอจะพูดถึงนโยบายเรื่องไอทีที่เกี่ยวข้องกับการทำ CSR แล้วหลายต่อหลายองค์กรก็ยังคงมองไม่เห็นความสำคัญในจุดนี้ หรือจะพูดได้ว่ายังไม่มีใครคำนึงถึงว่าเรื่องของไอทีจะมาเกี่ยวข้องกับการทำอะไรเพื่อสังคมได้อย่างไร แล้วเราทำอะไรเพื่อสังคมไปทำไม ทำเพื่อสร้างภาพลักษณ์ ทำเพื่อเอาหน้า หรือทำไปตามกระแสเพราะเห็นคนอื่นทำแล้วเราก็เลยทำบ้างจะได้ไม่ตกเทรนอย่างนั้นหรือ ในความเป็นจริงแล้วการที่เราทำ CSR ก็เพื่อทำให้องค์กรของเรามีการจริงเติบโตอย่างยั่งยืนไม่ใช่หรือ การที่จะทำอะไรเพื่อสังคม หรือทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนนั้นองค์กรสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งแนวทางด้านไอทีก็เป็นทางหนึ่งที่จะทำให้องค์กรนั้นบรรลุภาระกิจนี้ได้ ทาง Gartner คาดว่าในปี 2010 ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมจะกลายเป็น 1 ใน 5 ประเด็นหลักที่ผู้บริหารด้านไอทีจำเป็นต้องคำนึงถึงในการวางแผนด้านไอทีขององค์กร
ไม่ใช่แค่การประหยัดพลังงาน
มีหลายต่อหลายคนรวมไปถึงหลายองค์กรคิดว่า Green IT เป็นเพียงแค่โปรเจคที่จะช่วยให้องค์กรนั้นประหยัดพลังงานเท่านั้น แต่จะว่าไปแล้วนั้นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ผู้บริหารด้านไอทีหรือ CIO น่าจะมองภาพที่กว้างกว่านั้นในเรื่องของ Green IT นานมาแล้วที่ผู้นำองค์กรส่วนใหญ่ยังมองไอทีเป็นต้นทุนเป็นค่าใช้จ่ายที่ขจำเป็นต้องจ่ายไปโดยเหมือนไม่ได้อะไรกลับคืนมา ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงเป็นอย่างนั้นอยู่ จริงๆ แล้วเราสามารถใช้ไอทีเป็นเครืองมือในการทำให้ธุรกิจเราสามารถขยายได้มากขึ้น ไอทีสามารถทำให้องค์กรนั้นมีโอกาสในการทำธุรกิจมากขึ้น เช่นเดียวกันกับ Green IT อย่างมองเพียงแค่นี่เป็นแค่โปรเจคประหยัดพลังงาน เพราะ Green IT สามารถใช้เป็นเครื่องมือให้ธุรกิจของท่านนั้นเติบโตได้อย่างยังยืนอีกด้วย ข้อมูลจาก Greener Computing ได้จัดระดับขององค์กรด้านการทำ Green IT ไว้ 3 ระดับด้วยกันคือ Eco-Efficiency, Eco-Innovation และ Eco-Collaboration
ในเฟสแรก Eco-Efficiency เมื่อองค์กรเริ่มที่จะนำนโยบายทางด้าน Green IT เข้ามาใช้ในองค์กร แต่ละองค์กรก็จะเริ่มจากกิจกรรมภายในองค์กรก่อน เริ่มตั้งแต่การจัดซื้อจัดการอุปกรณ์ที่ได้การรับรองทางด้าน Green IT หรืออุปกรณ์ที่จะไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อส่วนรวม ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายองค์กรที่ทำมาตรฐานทางด้านนี้อยู่ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้น กระบวนการ Recycle อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ใช่แค่เอาออกไปจากองค์กรให้มันพ้นๆ ไป อุปกรณ์เหล่านั้นจะไปอยู่ที่ไหนก็ไม่ใช่เรื่องของเราแล้วอย่างนี้ไม่ได้ การปิดอุปกรณ์ต่างๆ เมื่อเลิกใช้งาน หรือการใช้กระดาษทั้งสองหน้าในการพิมพ์ Data Center ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่กินไฟมากที่สุดขององค์กร แต่จุดนี้ก็ต้องระวังเหมือนกันเพราะบางค่าใช้จ่ายในการซ่อมของเก่าอาจจะเท่ากับการสร้างใหม่ด้วย Green Technology ก็เป็นได้ Virtualization ก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะมีบทบาทมากๆ ในการช่วยเรื่อง Green IT ต่อไปก็คือการคำนึงถึงเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการทำงานอีกหลายตัว ซึ่งรายชื่อเทคโนโลยีแต่ละตัวก็ได้นำเสนอไปแล้วในตอนต้น
เมือองค์กรเริ่มที่จะมีองค์ความรู้ความเข้าใจการเติบโตทางด้าน Green IT มากขึ้นแล้ว หน่วยงานไอทีกลายเป็นหน่วยงานเขียวแล้ว ส่วนใหญ่จุดที่แต่ละองค์กรมองต่อไปก็คือเรื่องของ Eco-Innovation นั้นก็คือการนำไอทีเข้าไปช่วยพัฒนา Green IT ในระดับองค์กรอุปกรณ์ตัวไหนสามารถทำให้อยู่ในกรอบของ Green IT ได้บ้าง ปรับเปลี่ยนกระบวนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดการสูญเสีย ไอทีสามารถช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานขององค์กรได้ แถมยังทำให้องค์กรเรานั้นทำงานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น อีกทั้งเรายังสามารถใช้ไอทีเป็นเครื่องมือในการเพิ่มช่องทางในการทำธุรกิจแบบใหม่ๆ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม อาจจะมีการออกสินค้าใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือเป็นบริการที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะไม่ว่าจากทางใดก็ทางหนึ่ง
หลังจากนั้นในเฟสสุดท้าย Eco-Collaboration ซึ่งเป็นเรื่องของความยั่งยืน เพราะเมื่อองค์กรนั้นเป็นองค์กรที่มีการนำ Green IT ไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมทั้งองค์กรแล้วจนกลายเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมการ เฟสต่อไปก็คือการขยายขอบเขตของ Green IT ออกไปสู่นอกองค์กรมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คู่ค้า หรือทุกๆ ฝ่าย ใน Value Chain เพื่อให้มั่นใจได้ว่าชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกส่งเข้ามาในองค์กรเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของสินค้าหรือบริการขององค์กรเรา จะเป็น Green Product หรือ Green Service ที่จะถูกส่งไปยังมือลูกค้าต่อไป
ส่งท้าย
ในเมืองนอกนั้น Green IT กำลังมาแรงหลายประเทศตื่นตัวในเรื่องนี้มาก สังเกตได้จากงานแสดงสินค้า หรืองานสัมมนาทางด้านไอทีที่ Green IT เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างมาก เช่น CeBIT งาน Trade Show ระดับโลก มี Hall สำหรับ Green IT โดยเฉพาะซึ่งใหญ่กว่าปีที่แล้วและปีหน้าก็จะยังคงมีต่อไป ยังมีอีกหลายงานเช่น Green IT Expo หรือ Green IT Conference & Exhibition เป็นต้น ต่างประเทศเข้าไปไกลกันขนาดนี้แล้ว หันกลับมาในบ้านเราไม่รู้ว่าจะเริ่มรู้ข่าวกับเขาบางหรือยัง แต่การที่จะทำให้คนไอทีทราบเรื่องนั้นคงไม่ใช่เรื่องยากเท่าไรแต่การที่จะให้เกิดผลในการลงมือทำก็จะต้องอาศัยอำนาจและก็เงินลงทุนจากผู้นำองค์กร นั่นหมายความว่าเราต้องทำให้ผู้นำองค์กรนั้นยอมรับในแนวคิดนี้ด้วย อันนี้สิยากกว่าก็ได้แต่หวังว่าสักวันหนึ่งเราชาวไอทีจะมีส่วนช่วยโลกไม่ให้ร้อนขึ้นไปกว่านี้ด้วยนะครับ
References
Gartner Estimates ICT Industry Accounts for 2 Percent of Global CO2 Emissions, Gartner, http://www.gartner.com/it/page.jsp?id=503867
Silicon Valley Toxics Coalition, http://www.svtc.org
Green IT Conference & Exhibition, http://www.greenituk.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น