วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

AKARI Architecture

ในตอนที่แล้วผมได้แนะนำให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกับ AKARI ไปแล้ว แต่เป็นมุมมองในเชิงภาพรวมว่าโครงการนี้เกิดขึ้นมาจากอะไร มีจุดประสงค์เพื่ออะไร และมีขอบเขตของโครงการอย่างไรบ้าง ถือเป็นมุมมองกว้างๆ เพือให้เราพอจะทราบว่าโครงการนี้คืออะไร มีหน้าตาอย่างไร แนวคิดของเขาคืออะไร ส่วนในตอนนี้เราจะมาลงลึกกันในแง่ของเทคนิคว่า ในโครงการ AKARI นี้มีการออกแบบโครงสร้างของระบบเครือข่ายแห่งอนาคตอย่างไรบ้าง แล้วมันดีหรือไม่ดี มีประโยชน์อย่างไร
AKARI
ก่อนอื่นขอย้อนแนะนำ AKARI สักเล็กน้อยนะครับ แนวคิดของ AKARI คือเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการในอนาคตที่ทางญี่ปุ่นเขาคิดว่าน่าจะเป็นหรือน่าจะเกิดขึ้นในประเทศของเขา โดยมีเงื่อนไขหลายประการที่เข้ามาเป็นตัวแปรในโครงการนี้ ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องของภัยพิบัติ มีมากมายหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหวระดับรุนแรงและบ่อยเพราะอยู่ในแนววงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) พายุไต้ฝุ่นที่มีเข้ามาบ่อยเพราะประเทศเขาเป็นเกาะ มีพายุหิมะ มีซึนามิ มีภูเขาไฟระเบิด มีแต่ภัยธรรมชาติทีแรงๆ ทั้งนั้น และด้วยระบบสาระสนเทศที่ปัจจุบันกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกๆ ที่ต้องมี และจะยิ่งทวีความสำคัญขึ้นอย่างมากในอนาคต ระบบเครือข่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต้องสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องหรือ กู้กลับมาให้บริการได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ นาๆ ขึ้น



นอกเหนือจากเรื่องภัยธรรมชาติที่เป็นเรื่องใหญ่สุดๆ ของเขาแล้ว ก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่เขาคำนึงถึง โดยสามารถแบ่งความต้องการออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่มแรกคือการเพิ่มมูลค่าใหม่ๆเข้ามา (Maximize the Potential) เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น หรือการเพิ่มนวัตกรรมใหม่ๆ ส่วนกลุ่มที่สองคือกลุ่มที่เขาต้องการที่จะแก้ปัญหาเดิม (Minimize the Negative) ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วโดยการจัดระเบียบโครงสร้างพื้นฐานเสียใหม่เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง
AKARI Architecture
Layered Structure
Hierarchical Locator Numbering Assignment



Host-ID/Locator Split



Regional Platform Net with Wireless-Mesh & Sensors


Optical Packet & Path Integrated net


Net Virtualization

อ้างอิง

http://akari-project.nict.go.jp/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น